วันชาติ (ญี่ปุ่น: ?????? kenkoku kinen-no-hi ?) เป็นวันหยุดราชการในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ในวันนี้ ชาวญี่ปุ่นเฉลิมฉลองการก่อตั้งชาติและเชื้อสายจักรพรรดิตามจักรพรรดิในตำนานพระองค์แรก จิมมุ ผู้ซึ่งได้สร้างเมืองหลวงขึ้นที่ยามาโตะ เมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล
ที่มาของวันตั้งชาติคือวันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินสุริยจันทรคติดั้งเดิม ซึ่งในวันนั้น การก่อตั้งญี่ปุ่นโดยจักรพรรดิจิมมุได้มีการเฉลิมฉลองตามนิฮงโชะชิ (????) ซึ่งกล่าวไว้ว่า จักรพรรดิจิมมุทรงขึ้นครองราชย์ในวันแรกของเดือนแรก
ในยุคเมจิ รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันกับการเปลี่ยนปฏิทินสุริยจันทรคติเป็นปฏิทินเกรโกเรียน ใน ค.ศ. 1873 หนึ่งปีก่อนหน้านั้น เมื่อวันหยุดราชการนี้ได้รับการประกาศขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งตรงกับวันที่ 29 มกราคมในปฏิทินเกรโกเรียน ซึ่งสอดคล้องกันกับวันขึ้นปีใหม่ของชาวญี่ปุ่น ค.ศ. 1873 รัฐบาลกล่าวว่ามันสอดคล้องกันกับวันขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิจิมมุ แต่มิได้ตีพิมพ์วิธีการคำนวณที่แม่นยำนัก
ในรูปแบบดั้งเดิม วันตั้งชาติได้ถูกตั้งชื่อว่า "วันจักรวรรดิ" (???, Kigensetsu) เป็นที่คาดกันว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิอาจทรงต้องการให้สถาปนาวันหยุดราชการดังกล่าวขึ้นเพื่อสนับสนุนความชอบธรรมของราชวงศ์หลังจากการล้มล้างรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ วันหยุดประจำชาติดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่เชื่อว่าการรวมความสนใจของชาติไปยังองค์จักรพรรดิจะช่วยในจุดประสงค์ด้านความเป็นเอกภาพ การเชื่อมโยงการปกครองของพระองค์เข้ากับจักรพรรดิพระองค์แรกในตำนาน จักรพรรดิจิมมุ และอะมะเตะระสุ จักรพรรดิเมจิจึงทรงสถาปนาพรองค์เป็นผู้ปกครองอย่างชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียวในญี่ปุ่น
ด้วยการเดินขบวนและการเฉลิมฉลองขนาดใหญ่ วันจักรพรรดินี้จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในสี่วันหยุดใหญ่ในญี่ปุ่น
เนื่องจากการเชื่อในตำนานชินโตและการสนับสนุนชนชั้นสูงของญี่ปุ่น วันจักรพรรดินี้จึงถูกยกเลิกไปหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ยังเป็นวันที่พลเอกดักลาส แมคอาเธอร์ได้รับรองฉบับร่างของแบบรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1946
วันหยุดเพื่อเป็นการระลึกถึงได้ถูกจัดขึ้นมาอีกครั้งเป็นวันตั้งชาติใน ค.ศ. 1966 ซึ่งถึงแม้ว่าจะลดการอ้างถึงจักรพรรดิลงอย่างมากแล้วก็ตาม วันตั้งชาติยังคงเป็นวันสำหรับแสดงความรักชาติในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950